Home Uncategorized 5 เรื่องน่ารู้ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

5 เรื่องน่ารู้ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

341

ในขณะที่ประชาชนคนทั่วไปกำลังจะเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากโรงพยาบาลและศูนย์ฉีดวัคซีนต่าง ๆ ทั่วประเทศ แอสตร้าเซนเนก้าจึงขอนำเสนอ 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

  1. วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติใช้งานแล้วกว่า 168 ประเทศทั่วโลก
  2. วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถฉีดให้แก่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  3. ในการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนจะต้องมีการตรวจสอบและคัดกรองเบื้องต้น ประกอบไปด้วย
  • เป็นผู้ที่ไม่มีอาการไข้ขึ้นสูงเกิน 37.5 องศา ในวันที่เข้ารับการฉีดวัคซีนฯ
  • ไม่มีโรคประจำตัวขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้[1] ได้แก่ โรคความดัน โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจเรื้องรัง กลุ่มโรคระบบประสาท กลุ่มโรคเบาหวานและโรคอ้วน
  • ไม่มีประวัติแพ้ยาหรือสารประกอบในกลุ่มที่ระบุ[2]
  • ผู้มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ความผิดปกติในการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถฉีดวัคซีนได้ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ฯ[3]
  1. สำหรับประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีดังต่อไปนี้
  • ช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) – เมื่อมีการฉีดวัคซีนมากกว่า 70% ของจำนวนประชากร
  • ป้องกันอาการป่วยจากโควิด-19 – ป้องกันการติดเชื้อรุนแรงที่ต้องเข้านอนรับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ป้องกันได้ 100% หลังฉีดเข็มแรก 22 วันไปแล้ว[4] และ จากการศึกษาการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในคนไทย พบว่าหลังฉีดเข็มแรก 30 วัน ผู้ใช้วัคซีนมีภูมิคุ้มกันถึง 96.7%[5]
  • ลดอัตราการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา – สูงถึง 63.0% หลังฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์
  1. ทางด้านผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนป้องกัน-19 จะประกอบไปด้วย
  • อาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป[6]

> 60% มีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีด

> 50% มีอาการปวดศรีษะ และ อ่อนเพลีย

> 40% มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว

> 30% มีอาการไข้ หนาวสั่น

> 20% มีอาการปวดข้อ และ คลื่นไส้

  • อาการข้างเคียงที่พบได้ยาก

< 1% มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต เบื่ออาหาร มึนหรือเวียนศรีษะ ปวดท้อง เหงื่อออกมากผิดปกติ มีผื่นคัน

จากข้อมูลการใช้วัคซีนในสหราชอาณาจักพบภาวะลิ่มเลือก 0.000013% ใน 1,000,000 คน[7] และจากข้อมูลการใช้วัคซีนในประเทศอินเดียพบภาวะลิ่มเลือด 0.61 ใน 1,000,000 คน[8] (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2564)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.azcovid-19.com/asia/th/th.html