Home สิ่งที่น่าสนใจ อีอีซี เดินหน้าฝึกอบรมสร้างทักษะบุคลากรเร่งด่วน

อีอีซี เดินหน้าฝึกอบรมสร้างทักษะบุคลากรเร่งด่วน

677

อีอีซี สร้างกำลังคนตรงความต้องการอุตสาหกรรมเป้าหมายครบทุกมิติ เดินหน้าฝึกอบรมสร้างทักษะบุคลากรเร่งด่วน ชะลอการว่างงานรับมือโควิด-19 มั่นใจร่วมเอกชนชั้นนำ ยกระดับทักษะด้วยนวัตกรรมใหม่คู่กับการขับเคลื่อนสิทธิประโยชน์ เพิ่มลงทุนพัฒนาบุคลากรต่อเนื่อง

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นประธานเปิดการประชุมคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) ครั้งที่ 2/2564 ผ่านระบบออนไลน์ โดยมี นายอภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานฯ EEC HDC รองศาสตร์จารย์ชิต เหล่าวัฒนา รองประธานคณะทำงานฯ นายทรงศัก สายเชื้อ ที่ปรึกษาพิเศษ สกพอ. พร้อมด้วยคณะทำงาน EEC HDC เข้าร่วมประชุม

การประชุมคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) ครั้งที่ 2/2564 นายอภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานฯ EEC HDC ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานพัฒนาทักษะบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตามแนวทาง EEC Model ไตรมาส 2 ปี 2564 มีมิติการขับเคลื่อนพัฒนาบุคลากรในพื้นที่อีอีซี ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

1)   มิติการฝึกอบรมระยะสั้น (EEC model Type B Short course) ที่ผ่านมาได้จัดอบรมแล้วกว่า 156 คน

โดยเน้นพัฒนาทักษะที่เป็นจำเป็น และปฏิบัติจริง อาทิ โครงการยกระดับทักษะพัฒนาบุคลากรเร่งด่วนรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โครงการฝึกอบรมเพื่อชะลอการว่างงานในภาคยานยนต์ พร้อมกันนี้ได้การเตรียมการฝึกอบรมไว้กว่า 3,852 คน คาดว่าหากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย พร้อมดำเนินการฝึกอบรมได้ทันที

2)   มิติหลักสูตร ดำเนินการอนุมัติหลักสูตรแล้ว 112 หลักสูตร จากเป้าหมาย 200 หลักสูตรครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งได้ขยายในการท่องเที่ยวชุมชน สำหรับกลุ่มรายได้ดี เพิ่มเติมอีก หลักสูตร

3)   มิติศูนย์เครือข่าย ปัจจุบันมีการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ 11 ศูนย์ เช่น ศูนย์เครือข่ายระบบราง เน้นความร่วมมือผ่านสถาบันการศึกษา อาทิ ม.บูรพา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับ รฟท. เตรียมการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ศูนย์เครือข่ายอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ที่พัฒนาจาก EEC automation park ใน ม.บูรพา และร่วมกับ 10 บริษัทเอกชน เตรียมฝึกอบรมด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์ทันที ที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย

4)   มิตินวัตกรรม เตรียมจัดตั้งโรงเรียนในสถานประกอบการ ตามแนวคิด Univertory ตั้งเป้าหมายในระยะ ปี ผลิตบุคลากรปีละ 10,000 คน และยกระดับอุตสาหกรรม SMEs กว่า 3,000 แห่ง รวมทั้งโครงการสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (Converted EV Industry : CEV) ร่วมกับสถานศึกษา แห่ง และอู่รถยนต์ 80 แห่ง ตั้งเป้าหมายแปลงรถยนต์ไฟฟ้าได้ 5,000 คัน ภายในปี 2564

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาความก้าวหน้าการพัฒนาบุคลากรร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อยกระดับทักษะบุคลากรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยมีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ MOU ที่สำคัญ เช่น หลักสูตร 5G ICT และ Digital ภายใต้ Huawai ASEAN Academy ดำเนินการอบรมทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล 30,000 คนภายใน ปี ความร่วมมือ มิตซูบิชิ อิเล็คทริค ผลักดัน EEC Automation Park เน้นการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ เป้าหมาย 8,000 โรงงานในอีอีซี นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างเจรจากรอบความร่วมมือเพิ่มเติมกับบริษัทชั้นนำ เช่น เตรียม MOU ร่วมกับกลุ่มบริษัท Cisco – Mavenir – 5GCT PlanetComm ขยายผลการใช้ 5G ในพื้นที่บ้านฉาง การจัดทำหลักสูตรแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ร่วมกับบริษัท Evlomo และหลักสูตรยานยนต์ไฟฟ้า ร่วมกับ Great Wall Motors เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุม ฯ ยังได้พิจารณาสิทธิประโยชน์การลงทุนด้านการพัฒนาทักษะบุคลากร ตามที่คณะรัฐมนตรี (25 พ.ค.2564) ได้อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ. และได้ขยายเวลามาตรการภาษี 2 ปี (ม.ค. 64 – 31 ธ.ค. 65) โดยสิทธิประโยชน์ที่สำคัญ ๆ อาทิ มาตรการรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง สามารถหักรายจ่ายค่าฝึกอบรมได้ 2.5 เท่า มาตรการส่งเสริมบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 การบริจาคสินทรัพย์ให้ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร สามารถหักรายจ่ายการบริจาคฯ ได้ เท่า